เหนื่อยง่าย ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงว่าภาวะน้ำตาลในเลือดสูงคืออะไร สาเหตุเกิดมาจากอะไร และวิธีป้องกันก่อนจะสายเกินแก้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hypoglycemia) คืออะไร
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เกินกว่าค่ามาตรฐาน โดยทั่วไปหากมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มก./ดล. (ขณะไม่ได้อดอาหาร) หรือมากกว่า 126 มก./ดล. (ขณะอดอาหาร) อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือความผิดปกติของระบบเผาผลาญ
เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการจัดการ น้ำตาลส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น
ปัสสาวะบ่อย
กระหายน้ำมาก
ปากแห้ง
รู้สึกอ่อนเพลีย
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
พฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง ได้แก่
รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูงเป็นประจำ
อาหารประเภทนี้ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องน้ำหนักเกิน หรือมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก
อาจส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนและเพิ่มไขมันบริเวณหน้าท้อง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานพันธุกรรมหรือประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว
หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวาน ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มขึ้นโรคหรือภาวะอื่นที่รบกวนการทำงานของอินซูลิน
เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ซึ่งอาจส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
การไม่เคลื่อนไหวร่างกายให้มากพอ ส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานและควบคุมน้ำตาลความเครียดสะสมเรื้อรัง
ฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ที่หลั่งมากเกินไปอาจรบกวนการทำงานของอินซูลิน
วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ลดการบริโภคน้ำตาล เครื่องดื่มหวาน น้ำอัดลม และอาหารแปรรูป ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักสด โปรตีนคุณภาพดี และธัญพืชไม่ขัดสี เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว วิ่ง หรือกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงานตรวจสุขภาพประจำปี
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด ควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคเบาหวานดูแลสุขภาพตามคำแนะนำแพทย์
หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษาอย่างเคร่งครัด รวมถึงการรับประทานยา ตรวจติดตามผลเลือด และปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
สรุป
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสัญญาณเตือนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแลอย่างเหมาะสม โดยปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง เช่น การเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนัก และการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันจึงเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและชะลอการเกิดโรค ช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
แหล่งอ้างอิง
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%20ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
https://www.paolohospital.com/th-TH/samut/Article/Details/ดูอย่างไรถึงใช่—ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะ/
https://bangkokpattayahospital.com/…/what-is-pcos/…
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2424
ผลิตภัณฑ์ไทยโอซูก้ามีหลากหลายสูตรตามภาวะโภชนาการที่เปลี่ยนไป เลือกให้เหมาะตามความต้องการ อยากรู้จักคลิกเลย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : Thai Otsuka Nutrition Club
LINE OA : @thaiotsuka
Instagram : @thaiostuka