อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน 

อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน 

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน 

  จากข้อมูลทางระบาดวิทยาเมื่อปี 2562 พบว่า คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง มีดัชนีมวลกายสูงที่สุด ความชุกของโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตร.ม.) ในประชากรไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไปในเพศชายพบได้ถึงร้อยละ 37.8 และเพศหญิงพบได้ถึงร้อยละ 46.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อปี 2557 ความชุกของโรคอ้วนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน1  

เกณฑ์การวินิจฉัยวินิจฉัยโรคอ้วนของประชากรทั่วไปและประชากรเอเชีย2–4 

Classification 

ประชากรทั่วไป BMI (kg/m2) 

ประชากรเอเชีย BMI (kg/m2) 

Underweight 

< 18.5 

< 18.5 

Normal 

18.5-24.9 

18.5-22.9 

Overweight 

25-29.9 

23-24.9 

Obesity Class I 

30-34.9 

25-29.9 

Obesity Class II 

35-39.9 

≥ ≥ 

30 

Obesity Class III 

≥ ≥ 

40 

 

 

 

BMI; body mass index 

 ปกติแล้วสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม2,5–8 คือ โรคอ้วนแบบปฐมภูมิ (primary) ซึ่งพบได้มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือคือการได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไปนั่นเอง ส่วนกลุ่มที่สองคือโรคอ้วนทุติยภูมิ (secondary) คือโรคอ้วนที่มีสาเหตุมาจากภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น 

 โรคอ้วน หมายถึงการมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไปซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ2,9 ระดับไขมันในร่างกายที่มากเกินไป10,11 คือมีร้อยละของไขมันทั้งหมดเมื่อเทียบต่อน้ำหนักตัวแล้วมากกว่า 25 ในเพศชาย และมากกว่า 35 ในเพศหญิง  จากข้อมูลทางการศึกษาพบว่าก้อนไขมันโดยเฉพาะที่สะสมอยู่ภายในช่องท้อง (visceral fat)12 สามารถหลั่งสารกระตุ้นการอักเสบได้ ซึ่งการอักเสบเรื้อรังสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย13  

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน2,13 

ผลต่อระบบเมตาบอลิก 

ผลต่อระบบเชิงกล 

ผลต่อสภาวะจิตใจ 

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 

ภาวะซึมเศร้า 

ไขมันในเลือดผิดปกติ 

ข้อเสื่อม 

ภาวะเครียด วิตกกังวล 

ความดันโลหิตสูง 

โรคเกาต์ 

 

นิ่วในถุงน้ำดี 

ปวดหลัง/เอว 

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด 

 

 

ภาวะมีบุตรยาก 

 

 

มะเร็ง (ลำไส้, เต้านม, เยื่อบุโพรงมดลูก) 

 

 

กรดไหลย้อน 

 

 

ไขมันพอกตับ 

 

 

ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 

 

 

 

  ในผู้ป่วยโรคอ้วนทุกรายที่ต้องการลดน้ำหนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักได้สำเร็จ ไม่ใช่การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยจะต้องทำทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันเสมอ12,14–18 การควบคุมอาหารมีได้หลากหลายรูปแบบ วิธีหนึ่งที่ง่ายและสะดวกคือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนมื้ออาหารได้ (meal replacement)  

 วิธีนี้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนมื้ออาหารได้มาเป็นตัวช่วย โดยมักจะใช้รับประทานแทนมื้ออาหารหลัก 1-2 มื้อต่อวัน (จะแทนมื้อไหนของวันก็ได้ เน้นที่ผู้ป่วยสะดวก) หลักการจะเหมือนกันกับการทำ caloric restriction ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ รู้ปริมาณพลังงานที่แน่นอนของ meal replacement diet ทำให้สามารถกำหนดแคลอรี่ได้ชัดเจน และยังมีความสะดวกในการเตรียม เพราะอาหารเหล่านี้มักมาในรูปแบบผงพร้อมชง โดยผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ทดแทนมื้ออาหารได้ควรจะมีคุณสมบัติต่อ 1 ส่วน (1 serving) ดังนี้2,19 

  1. ให้พลังงานประมาณ 200-400 กิโลแคลอรี่
  2. ให้โปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม 
  3. มีน้ำตาลน้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อน้ำหนัก 
  4. มีใยอาหารและไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน 
  5. มีชนิดของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน 

  การควบคุมอาหารด้วยวิธีนี้ สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายและในช่วงระยะแรกน้ำหนักอาจจะลดลงได้เร็วขึ้นกับปริมาณแคลอรี่ที่ทดแทน ส่วนข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C) ได้ถึงร้อยละ 0.45 อีกด้วย 20–22  

  จากคุณสมบัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อาหารทางการแพทย์นั้นก็สามารถนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนมื้ออาหารได้เช่นกัน เพราะมีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณพลังงานต่อ 1 ส่วนที่ชัดเจน แต่ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ 

  ตัวอย่างการใช้ meal replacement เช่น คุณ P มีโรคประจำตัวเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน มีอัตราการใช้พลังงานต่อวันที่ 1500 กิโลแคลอรี่ ขณะนี้คุณ P รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน (500 กิโลแคลอรี่ต่อมื้อ) รวมได้ 1500 กิโลแคลอรี่ หากคุณ P ต้องการลดน้ำหนักด้วย meal replacement ก็สามารถทำได้โดยใช้อาหารทางการแพทย์สูตรเบาหวานซึ่งมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่มีพลังงานประมาณ 200 กิโลแคลอรี่ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค แทนอาหาร 1 มื้อร่วมกับการออกกำลังกาย พลังงานที่ได้รับต่อวันก็จะลดลงเหลือเพียง 1200 กิโลแคลอรี่ น้ำหนักของคุณ P ก็จะเริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม การควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ 

แหล่งอ้างอิง 

  1. วิชัย เอกพลากร, (บก.), รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. 
  2. Tsai AG, Bessesen DH. Obesity. Annals of Internal Medicine. 2019 Mar 5;170(5):ITC33–48.
  3. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. The Lancet. 2004 Jan 10;363(9403):157–63.
  4. Jensen Michael D., Ryan Donna H., Apovian Caroline M., Ard Jamy D., Comuzzie Anthony G., Donato Karen A., et al. 2013 AHA/ACC/TOS Guideline for the Management of Overweight and Obesity in Adults. Circulation. 2014 Jun 24;129(25_suppl_2):S102–38.
  5. Kaila B, Raman M. Obesity: a review of pathogenesis and management strategies. Can J Gastroenterol. 2008 Jan;22(1):61–8.
  6. Hruby A, Hu FB. The Epidemiology of Obesity: A Big Picture. Pharmacoeconomics. 2015 Jul;33(7):673–89.
  7. Karam J, Mcfarlane S. Secondary causes of obesity. Therapy. 2007 Sep 1;4:641–50.
  8. Pasquali R, Casanueva F, Haluzik M, van Hulsteijn L, Ledoux S, Monteiro MP, et al. European Society of Endocrinology Clinical Practice Guideline: Endocrine work-up in obesity. European Journal of Endocrinology. 2020 Jan 1;182(1):G1–32.
  9. Cederholm T, Barazzoni R, Austin P, Ballmer P, Biolo G, Bischoff SC, et al. ESPEN guidelines on definitions and terminology of clinical nutrition. Clinical Nutrition. 2017 Feb 1;36(1):49–64.
  10. Hayashi T, Boyko EJ, McNeely MJ, Leonetti DL, Kahn SE, Fujimoto WY. Minimum Waist and Visceral Fat Values for Identifying Japanese Americans at Risk for the Metabolic Syndrome. Diabetes Care. 2007 Jan 1;30(1):120.
  11. Li Y, Wang H, Wang K, Wang W, Dong F, Qian Y, et al. Optimal body fat percentage cut-off values for identifying cardiovascular risk factors in Mongolian and Han adults: a population-based cross-sectional study in Inner Mongolia, China. BMJ Open. 2017 Apr 17;7(4):e014675–e014675.
  12. Lau DCW, Wharton S. Canadian Adult Obesity Clinical Practice Guidelines: The Science of Obesity. Available from: https://obesitycanada.ca/guidelines/science. Accessed [8 June 2021].
  13. Heymsfield SB, Wadden TA. Mechanisms, Pathophysiology, and Management of Obesity. N Engl J Med. 2017 Jan 18;376(3):254–66.
  14. Ismail I, Keating SE, Baker MK, Johnson NA. A systematic review and meta-analysis of the effect of aerobic vs. resistance exercise training on visceral fat. Obesity Reviews. 2012 Jan 1;13(1):68–91.
  15. Sabag A, Way KL, Keating SE, Sultana RN, O’Connor HT, Baker MK, et al. Exercise and ectopic fat in type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis. Diabetes & Metabolism. 2017 Jun 1;43(3):195–210.
  16. Washburn RA, Szabo AN, Lambourne K, Willis EA, Ptomey LT, Honas JJ, et al. Does the method of weight loss effect long-term changes in weight, body composition or chronic disease risk factors in overweight or obese adults? A systematic review. PLoS One. 2014 Oct 15;9(10):e109849–e109849.
  17. Mabire L, Mani R, Liu L, Mulligan H, Baxter GD. The Influence of Age, Sex and Body Mass Index on the Effectiveness of Brisk Walking for Obesity Management in Adults. A Systematic Review and Meta-Analysis. Journal of Physical Activity and Health. 2017 Feb 7;14:1–46.
  18. Davidson LE, Hudson R, Kilpatrick K, Kuk JL, McMillan K, Janiszewski PM, et al. Effects of Exercise Modality on Insulin Resistance and Functional Limitation in Older Adults: A Randomized Controlled Trial. Archives of Internal Medicine. 2009 Jan 26;169(2):122–31.
  19. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 121 ( พ.ศ.2532) เรื่อง อาหารสําหรับผู้ที่ตองการควบคุมน้ำหนัก [อินเตอร์เน็ต]. 2532 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://food.fda.moph.go.th/law/announ_moph1-150.php.
  20. Noronha JC, Nishi SK, Braunstein CR, Khan TA, Blanco Mejia S, Kendall CWC, et al. The Effect of Liquid Meal Replacements on Cardiometabolic Risk Factors in Overweight/Obese Individuals With Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Controlled Trials. Diabetes Care. 2019 May 1;42(5):767.
  21. Heymsfield S, van Mierlo CAJ, van der Knaap HCM, Heo M, Frier H. Weight management using a meal replacement strategy: meta and pooling analysis from six studies. Int J Obes Relat Metab Disord. 2003 May;27(5):537–49.
  22. Astbury NM, Piernas C, Hartmann-Boyce J, Lapworth S, Aveyard P, Jebb SA. A systematic review and meta-analysis of the effectiveness of meal replacements for weight loss. Obes Rev. 2019/01/24 ed. 2019 Apr;20(4):569–87.
  23.  

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *