อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

อาหารทางการแพทย์ คือ อาหารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์โภชนบำบัดโดยเฉพาะ ประกอบด้วยสารอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน สารอาหารรองอย่างวิตามินและเกลือแร่ และสารอาหารอื่น ๆ อย่างไฟเบอร์ ซึ่งอาหารทางการแพทย์นี้แตกต่างจากอาหารทั่วไปเน้นช่วยให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดสารอาหารหรือไม่สามารถทานอาหารตามปกติสามารถรับสารอาหารได้ครบถ้วนและถูกต้องตามหลักโภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ช่วยผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร

  • รักษาน้ำหนักเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

    เมื่อเป็นโรคมะเร็ง ระบบเผาผลาญของร่างกายก็จะทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากเกินไปจนร่างกายอ่อนแอ ส่งผลกับภูมิคุ้มกันและความพร้อมของร่างกายในการรับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารได้เลยทีเดียว

  • ป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอและกล้ามเนื้อลีบฝ่อเนื่องจากขาดโปรตีน

    เนื่องจากเชื้อมะเร็งจะส่งผลให้ระบบเผาผลาญที่ทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายดึงโปรตีนไปใช้มากผิดปกติ สูญเสียน้ำหนักและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอเพราะโปรตีนในร่างกายไม่พอผลิตเม็ดเลือดขาว อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถรับการรักษาได้

  • เอื้ออำนวยกับผู้ป่วยมะเร็งมากกว่าอาหารปกติ

    นอกจากสารอาหารจะครบถ้วนหรือมีการเน้นโปรตีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งแล้ว อาหารทางการแพทย์มะเร็งยังเป็นอาหารที่อยู่ในลักษณะผงพร้อมชงรับประทานหรือเป็นอาหารเหลวพร้อมทาน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาหารเบื่ออาหารหรือมีแผลในช่องปากสามารถทานได้ง่ายและได้รับสารอาหารครบถ้วน

ต้องกินอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับสารอาหารเพียงพอ?

น้ำหนักลดหรือร่างกายที่ขาดสารอาหารนั้นอาจส่งผลต่อการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้นผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแลควรดูแลอาหารการกิน ดังนี้

ควรได้รับพลังงานจากอาหารเพียงพอต่อหนึ่งวัน

  • ผู้หญิงควรได้รับพลังงาน 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรี่ / วัน
  • ผู้ชายควรได้รับพลังงาน 1,800 – 2,400 กิโลแคลอรี่ / วัน

ทั้งนี้ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งนั้นจะมีอาการเบื่ออาหาร ทานได้ครั้งละน้อย ๆ และน้ำหนักลดลงผิดปกติ แต่ถ้าหากไม่สามารถรับประทานได้ใน 3 มื้อหลักก็สามารถแบ่งทานเป็นมื้อเล็กหลาย ๆ มื้อก็ได้เช่นกัน

ควรได้รับโปรตีนสูง

หนึ่งอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งคือระบบเผาผลาญจะทำงานผิดปกติ โดยจะเผาผลาญสารอาหารในร่างกายรวมถึงถึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายซูบผอม อ่อนแอ และเมื่อโปรตีนไม่เพียงพอก็ไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอตามไปด้วย

ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจะควรทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างเช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ โดยมีปริมาณที่เหมาะสมอยู่ที่ 9-10 ทัพพีเป็นอย่างต่ำ หรือทานอาหารทางการแพทย์โปรตีนสูงสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

ดื่มน้ำในปริมาณมากและเพียงพอต่อร่างกาย

ผู้ป่วยมะเร็งควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวันหรืออยู่ในปริมาณ 2 – 2.5 ลิตร เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสียและป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

ไม่ลืมวิตามินและไฟเบอร์จากผักและผลไม้

เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายและการเติบโตของเชื้อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต้านทานดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรทานผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม ผลไม้รสเปรี้ยว และผลไม้ประเภทถั่วเพื่อรับสารอาหารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีที่จะช่วยซ่อมแซมและบำรุงดูแลร่างกายระหว่างรักษามะเร็งให้ดียิ่งขึ้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมีสารอาหารสำคัญอะไรบ้าง

อาการจากโรคมะเร็งและผลข้างเคียงของกระบวนการรักษาส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ร่างกายซูบผอมเนื่องจากขาดพลังงาน โปรตีน และสารอาหารต่าง ๆ ดังนั้นอาหารทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยมะเร็งทานจึงควรประกอบไปด้วยสารอาหารดังนี้:

  • คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน โดยมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 50-61 สำหรับคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 21-25 สำหรับโปรตีน และร้อยละ 18-25 สำหรับไขมัน
  • มีส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ เช่น อาร์จีนีน (Arginine) กลูตามีน (Glutamine) กรดไขมันอีพีเอ (Omega-3 Fatty Acid) กรดดีเอชเอ (DHA: Docosahexaenoic Acid) ที่ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและทดแทนร่างกายจากการขาดพลังงาน

NEO-MUNE อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่แพทย์แนะนำ

นีโอมูนหรือนมนีโอมูน คือ อาการทางแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งสูตรพลังงานและโปรตีนสูง มีสารอาหารครบถ้วนด้วยส่วนผสมของกลูตามีน อาร์จีนีนและน้ำมันปลา เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งทั้งในช่วงก่อนการรักษา ระหว่างรักษา และหลังเข้ารับการรักษา เหมาะกับการดูแลในระยะยาว

  • กลูตามีน (Glutamine) เป็นกรดอะมิโนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเม็ดเลือดขาว ป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทั้งยังช่วยในการฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีที่กระทบระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในเวลาที่ร่างกายอ่อนแอหรือขาดพลังงาน
  • อาร์จีนีน (Arginine) ช่วยกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งช่วยขยายหลอดเลือด ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟูแผลด้วยการสร้างคอลลาเจนในเนื้อเยื่อ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและเสริมการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยให้แข็งแรง

NEO-MUNE เป็นอาหารทางการแพทย์โปรตีนสูงที่เหมาะกับใคร?

  • ผู้ป่วยมะเร็ง
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดสูงจากภาวทุพโภชนาการ
  • ผู้ป่วยที่ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด
  • ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ มีแผลไฟลวก

📌สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : Thai Otsuka Nutrition Club
LINE OA : @thaiotsuka
Instagram : @thaiostuka

🛒 สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาล และร้านขายยาทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ร้าน Otsuka Official Store
Lazada : https://www.lazada.co.th/shop/otsuka-official-store
Shopee : https://shopee.co.th/thaiotsuka_official

*อาหารทางการแพทย์ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์*

Source:

https://eatwellconcept.com/2024/12/27/%E0%B9%8Cnutrition-and-mediacal-food-for-cancer/

https://www.nestlehealthscience-th.com/health-management/critical-care-and-surgery/cancer

https://www.chiwamitra.com/th/blog/139/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87

https://www.chulacancer.net/articles-page.php?id=823&keysname=Healthtips

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/food-for-cancer

https://www.lungandme.com/living-with-cancer/10

https://chgcancercenter.com/how-to-select-medical-milk-for-cancer-patients/

https://www.nestlehealthscience-th.com/health-management/aging/nhs_impact

https://phyathai3hospital.com/th/patients-palliative-stage-eat-food/

https://www.chularat3inter.com/en/contents/food-for-cancer-patients

https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/%20(Medical%20Foods).pdf

http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=914&typeID=18&form=4

https://w2.med.cmu.ac.th/opd/wp-content/uploads/2023/07/RT_Clinic_%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.pdf?x48287