
อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไต
ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย ดังนั้นผลกระทบที่ตามมาของโรคไตคือร่างกายไม่สามารถคัดกรองของเสียได้เหมือนเดิม การรับประทานอาหารจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่พอดีและไม่มีของเสียในร่างกายตกค้างมากจนเกินไปนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ อาหารทางการแพทย์จึงมีบทบาทสำคัญกับผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากมีสารอาหารเฉพาะและสามารถเลือกทานได้ในปริมาณที่ปลอดภัย ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน
ทานอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคไต
เมื่อไตไม่สามารถกำจัดของเสียได้ตามปกติ ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยจึงต้องใส่ใจและระมัดระวังอาหารการกินและปริมาณสารอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายและระยะอาการของโรคไต โดยการดูแลเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตก็จะมีความแตกต่างในระยะก่อนฟอกไตและระยะหลังฟอกไต ดังนี้
โปรตีน
- ระยะก่อนฟอกไต ควรได้รับโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ถั่ว ไข่ขาว ฯลฯ ในประมาณ 0.6 – 0.8 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กก. / วัน
- ระยะหลังฟอกไต ควรทานโปรตีนในปริมาณที่มากกว่าคนปกติเพื่อทดแทนโปรตีนที่เสียไปจากการฟอกไต โดยทาน 1.0 – 1.2 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กก. / วัน
ควรระวังการทานโปรตีนมากเกินพอดี เนื่องจากโปรตีนทำให้เลือดในร่างกายมีความเป็นกรดมากขึ้น หากไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกไปก็จะทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีคลอเลสเตอรอล กรดยูริก และฟอสเฟสสูง อย่างโปรตีนจำพวก เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น
พลังงาน
ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายควรได้รับสารอาหารในปริมาณ 30-35 กิโลแคลอรี่ / น้ำหนักตัว 1 กก. / วัน โดยเป็นสารอาหารจากแป้งและน้ำตาลในปริมาณร้อยละ 60 และเป็นสารอาหารจากไขมันร้อยละ 30
เกลือแร่
สารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในเกลือแร่นั้น มีความสำคัญกับร่างกายและสามารถส่งผลต่อร่างกายได้อย่างยิ่งยวด ได้แก่
- โซเดียม: ผู้ป่วยโรคไตควรทานโซเดียมในปริมาณไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน เพราะเมื่อทานโซเดียมมากไปจะทำให้กระหายและดื่มน้ำตามมากขึ้น ส่งผลให้ตัวบวม เสี่ยงน้ำท่วมปอดและความดันโลหิตสูงได้
- โพแทสเซียม: ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตมักจะมีปัญหาโพแทสเซียมสูง จึงควรทานผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง เช่น ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ เป็นต้น
- ฟอสฟอรัส: ควรคุมปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดให้ต่ำกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เนื่องจากปริมาณของฟอสฟอรัสในเลือดที่มากเกินไปอาจทำให้ส่งผลให้ผู้ป่วยกระดูกเปราะได้ ซึ่งอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ ได้แก่ ไข่ขาว และควรจำกัดการทานอาหารจำพวกไข่ นม ถั่ว ให้อยู่ในประมาณที่เหมาะสมเนื่องจากมีฟอสฟอรัสสูง
น้ำเปล่า
ผู้ป่วยโรคไตวายควรดื่มน้ำเปล่ารวมถึงเครื่องดื่มอื่น ๆ และอาหารเหลวในปริมาณ 500 – 700 มิลลิลิตรต่อวัน แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ควรดื่มไม่เกิน 700 – 1000 มิลลิลิตรต่อวัน หากดื่มมากเกินไปอาจทำให้ตัวบวมขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือน้ำท่วมปอดได้
ไขมัน
ควรเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ อาหารขยะ ไขมันอิ่มตัวจากพืชและสัตว์ โดยผู้ป่วยสามารถรับสารอาหารไขมันได้จากกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก และอื่น ๆ
อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไตคืออะไร?
อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไตเป็นอาหารที่อยู่ในลักษณะของผงสำหรับชงดื่มหรืออาหารเหลว มีสารอาหารครบถ้วน สามารถมอบโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารชนิดต่าง ๆ ได้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งอาหารทางเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคไตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้
อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะก่อนล้างไต
- ให้พลังงานสูงถึง 1.8 กิโลแคลอรี่ / มิลลิลิตร
- มีอัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 52 โปรตีนร้อยละ 8 และ ไขมันร้อยละ 40
- แหล่งโปรตีนจากถั่วเหลืองและเคซีน (Casein)
- มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ปราศจากแลคโตส
- มีปริมาณเกลือแร่และแร่ธาตุเหมาะสม
อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะล้างไต
- ให้พลังงานสูงถึง 1.8 กิโลแคลอรี่ / มิลลิลิตร เช่นเดียวกับระยะก่อนล้างไต
- มีอัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 42-47 โปรตีนร้อยละ 18 และ ไขมันร้อยละ 35-40
- มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ปราศจากแลคโตส
- มีปริมาณวิตามินเอ โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสเหมาะสมกับผู้ป่วยไตระยะนี้
- มีใยอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย
Thai Otsuka Nutrition อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่แพทย์แนะนำ
เนื่องจากผู้ป่วยในระยะก่อนล้างไตและระยะล้างไตต้องการปริมาณสารอาหารที่แตกต่างกัน จึงควรเลือกอาหารเสริมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไตให้เหมาะสมกับแต่ละระยะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ Thai Otsuka Nutrition ก็มีอาหารทางการแพทย์ที่มอบสารอาหารให้กับผู้ป่วยโรคไตในแต่ละระยะได้อย่างครบถ้วน
- ONCE Renal อาหารเสริมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต ให้โปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมเพียงพอ ควบคุมปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุอย่างสมดุล ปราศจากแลคโตส
- ONCE Dialyze อาหารเสริมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะล้างไต มีโปรตีนคุณภาพสูงจากเวย์ไอโซเลทและเคซีน ให้พลังงานสูง ปราศจากน้ำตาลและแลคโตส ให้วิตามินและแร่ธาตุที่สมดุล ปราศจากน้ำตาลและแลคโตส
📌สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : Thai Otsuka Nutrition Club
LINE OA : @thaiotsuka
Instagram : @thaiostuka
🛒 สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาล และร้านขายยาทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ร้าน Otsuka Official Store
Lazada : https://www.lazada.co.th/shop/otsuka-official-store
Shopee : https://shopee.co.th/thaiotsuka_official
*อาหารทางการแพทย์ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์*
Source:
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/food-for-kidney
https://www.vimut.com/article/food-for-kidney-disease-patients