
เมื่อแพทย์ตัดสินใจใช้รังสีรักษา ในผู้ป่วยที่ทราบผลชิ้นเนื้อและระยะของโรคแล้ว แพทย์จะมีการพูดคุย วางแผนกับผู้ป่วยและญาติ ถึงขั้นตอนกระบวนการฉายรังสี
ขั้นที่ 1 การจำลองการฉายรังสี
เป็นการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และภาพเอมอาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำภาพจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และภาพเอมอาร์บนเตียงจำลองฉายรังสี ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการครอบหน้ากากที่ศีรษะและลำตัวส่วนบนเพื่อป้องกันการขยับ มักมีการฉีดสารทึบรังสี เพื่อให้เห็นก้อน "มะเร็ง" ชัดขึ้น ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 30 นาที
ขั้นที่ 2 แพทย์กำหนดขอบเขตก้อน "มะเร็ง" และอวัยวะปกติข้างเคียง
เพื่อส่งต่อข้อมูลให้นักฟิสิกส์คำนวณปริมาณรังสีที่ต้องใช้ จากนั้นแพทย์รังสีประเมินแผนการรักษาเพื่อหาแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากที่สุด ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 5-7 วัน
ขั้นที่ 3 การฉายรังสีในผู้ป่วย
การฉายรังสี ใช้เวลาวันละ 5-10 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ระยะเวลา 5-7 สัปดาห์ ได้ปริมาณรังสีรวมประมาณ 30-35 ครั้ง ขณะฉายรังสี ผู้ป่วยจะอยู่บนเตียงฉายรังสี สวมหน้ากาก นอนนิ่ง ไม่รู้สึกเจ็บปวด
ขั้นที่ 4 ตรวจติดตาม
แพทย์ทำการนัดผู้ป่วยทุกสัปดาห์ระหว่างการฉายรังสี เพื่อตรวจเลือด ประเมินสภาพร่างกาย และการตอบสนองต่อการรักษา
หลังเข้ารับการฉายรังสี ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ หากรับประทานอาหารได้น้อยลง สามารถใช้ "อาหารทางการแพทย์ สูตรโปรตีนและพลังงานสูง" เพื่อเสริมสารอาหารให้ครบถ้วนได้ (ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์)
###